วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประวัติ หมอลำ

ความเป็นมาของหมอลำ
หมอลำ เริ่มแรกเกิดจากการชุมนุม ลูกหลาน มีผู้เฒ่าผู้แก่นั่งเล่านิทานเกี่ยวกับ จารีตประเพณีและศีลธรรมอันดี เมื่อลูกหลาน มาฟังกันมากนิยมนั่งเล่าไม่เหมาะสม ต้อง
ยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่ มีในวรรณคดี เช่น เรื่องการเกด สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าทางก็ ไม่สนุกผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดง
ท่าทางเป็นพระเอก นางเอก เป็นนักรบ เป็นต้น จากนั้นจึงพัฒนาไปสู่การขับลำที่ ต้องใช้สำ เนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงต่ำ ประกอบการเล่า และหาเครื่องดนตรีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี่ แคน เพื่อให้เกิดความสนุก ครื้นเครง ผู้แสดง มีเพียงแต่ผู้ชายดูไม่มี รสชาติเผ็ดมัน จึงจำเป็นต้องหาผู้หญิงมา แสดงประกอบจึงเป็นการลำแบบสมบูรณ์ เมื่อผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องต่างๆที่เล่า ก็ตามมา เช่น เรื่องเกี้ยวพาราสี เรื่องชิงดีชิง
เด่น ยาด(แย่ง) ชู้ยาดผัวกัน เรื่องโจทย์ เรื่องแก้ เรื่องประชันขันท้า และเรื่องตลก
โปกฮา หมอลำกลอนของจังหวัดหนองคาย นั้น คุณนางมณีรัตน์ ได้เล่าให้ฟังว่า หมอลำกลอนของจังหวัดหนองคาย มีมาตั้งแต่ สมัยรุ่นปู่ย่าตายาย แล้ว โดยมีการร้องหมอลำ สืบทอดต่อกันมาตามประเพณีอีสาน การร้องกลอนลำ จะนำ เอาขนบธรรมเนียม ประเพณีรวมถึงตำนานและนิทานอีสาน

โบราณ นำมาแต่งเป็นบทกลอนให้มีความไพเราะ เพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจให้กับชุมชโดยแทรกตำนาน หรือคำสอนต่างๆ เข้าไป ในบทกลอนลักษณะของกลอนลำ
ลักษณะของกลอนลำ มีลักษณะ คล้ายกับกลอนแปด ร่ายยาว พัฒนาการของหมอลำนั้นจากการมีหมอลำฝ่ายชายเพียงคนเดียวค่อยๆ พัฒนาต่อมาจนมีหมอลำฝ่ายหญิง มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะเพื่อความ
สนุกสนาน จนกระทั่งเพิ่มผู้แสดงให้มี เท่ากับตัวละครที่มีในเรื่อง มีพระเอก มี นางเอก ตัวโกง ตัวตลก เสนา ครบถ้วน โดยเริ่มจากหมอลำโบราณซึ่งเป็นการเล่า นิทานของผู้เฒ่าผู้แก่ให้ลูกหลานฟัง ไม่มี
ท่าทางและดนตรีประกอบ จากนั้นจึง พัฒนาการมาเป็นหมอลำกลอนหรือหมอลำ คู่ การลำ มีหมอลำ ชายหญิงสองคน สลับกัน มีเครื่องดนตรีประกอบคือแคนการ
ลำมีทั้งเรื่องนิทานโบราณคดี อีสานเรียกว่าลำเรื่องต่อกลอน ลำทวย(ทายโจทย์)ปัญหาซึ่งผู้ลำ จะต้องมีปฏิภาณไหวพริบที่ดี สามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่าย ตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำขึ้นอีกคน
หนึ่ง อาจเป็นชายหรือหญิงก็ได้